ท่านทราบหรือไม่ว่า คดีอาญา ยอมความได้หรือไม่ และอย่างไร
สำหรับคดีอาญาที่เราฟ้องกันอยู่ทุกวันนี้มันจะมีอยู่ 2 ประเภท คือคดีอาญา ที่ประชาชน เป็นผู้เสียหายและคดีอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย และอีกแบบหนึ่งคดีอาญาที่ทั้งประชาชนและรัฐเป็นผู้เสียหาย
สำหรับคดีอาญาที่ ยอมความได้มักจะเป็นคดีอาญาที่ประชาชนเป็นผู้เสียหาย ยกตัวอย่างข้อหา เช่น คดียักยอกทรัพย์ ความผิดว่าด้วย พรบ.เช็ค ข้อหาฉ้อโกง ซึ่งข้อหาเหล่านี้ถ้าโจทก์จำเลยมีการตกลงกัน บรรเทาความเสียหายกันเป็นที่พอใจหรือ อาจจะไม่บรรเทาความเสียหายแต่โจทก์ถอนฟ้องหรือถอนคำร้องทุกข์ คดีอาญาเป็นอันเลิกกันได้
แต่สำหรับคดีอาญาซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งข้อหาเหล่านี้มักจะยอมความไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ข้อหาลักทรัพย์ ข้อหาฉ้อโกงประชาชน ข้อหาทำร้ายร่างกาย แม้ว่าผู้กระทำความผิดบรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายหรือโจทก์จนครบถ้วนเสร็จสิ้นแล้วก็ตามแต่ แต่ในกระบวนการดำเนินคดีก็ต้องจะดำเนินการต่อไป จนถึงศาลมีคำพิพากษาอยู่นั่นเอง
ดังนั้นคดีอาญายอมความได้หรือไม่จึงต้องดูว่าเป็นข้อหาอะไร เบื้องต้นต้องมาวินิจฉัยก่อนว่าความผิดข้อหาอะไร บางข้อหา เช่น ฉ้อโกง สามารถยอมความได้ แต่ถ้าเป็นข้อหาฉ้อโกงประชาชนเป็นอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ ดังนั้นก่อนจะวินิจฉัย จึงต้องมาดูรายละเอียดของคดี ให้ชัดเจนเสียก่อน
หากอยากทราบรายละเอียดว่าคดีอาญาใดยอมความได้ หรือไม่ได้ และมีทางแก้ไขอย่างไร ปรึกษาทนายฟรี 24 ชั่วโมง
กรอกข้อมูล ปรึกษากับ Lawyersiam