ทางออกของคนค้ำประกัน

ในเรื่องการค้ำประกันนั้น เราสามารถพบเห็นได้อยู่เป็นปกติเช่น ลูกหนี้ชั้นต้นทำการกู้เงิน โดยทำเป็นสัญญาเงินกู้ ต่อมาอาจมีการทำสัญญาค้ำประกัน โดยผู้ค้ำประกัน จะยินยอมรับผิดในการที่ลูกหนี้ชั้นต้นไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้

โดยหนี้ประธานนั้นอาจเป็นได้หลายอย่าง เช่น การกู้ยืมเงิน การเช่าซื้อรถยนต์หรือเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ซึ่งในการ ค้ำประกัน จะทำเป็นสัญญาค้ำประกันแยกเป็นอีก 1 ฉบับหรือทำเป็นสัญญาค้ำประกันรวมอยู่ในสัญญาฉบับหลัก ก็ได้ ซึ่งคนค้ำต้องรับผิดชอบตามสัญญา ถ้าเลือกได้อย่าเป็นคนค้ำให้ใครทั้งสิ้น มีแต่เสียทางได้ไม่มี

ติดต่อเรา

แล้วทางออกของคนค้ำประกัน มันจะมีทางไหนบ้างนะ

ความรับผิดผู้ค้ำประกัน

การค้ำประกันจะต้องมีความชัดเจนเรื่องความรับผิดชอบที่ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับ ผิดชอบกี่บาทมีสตางค์หรือไม่จำกัดวงเงิน ต่างๆเหล่านี้ต้องมีระบุให้ชัดเจนในสัญญา

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคหนึ่ง ค้ำประกันคือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการค้ำประกันจำนองโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 20 พ.ศ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 และพรบ เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 21 พ.ศ 580 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558


สัญญาค้ำประกันมีแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องที่ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม

ปพพ. มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่ว มหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

แต่ ข้อตกลงนี้มีข้อยกเว้นกรณีที่
1.ผู้ค้ำประกันเป็นนิติบุคคลและ
2.ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
ถ้ามีข้อตกลงนี้ ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้นได้

เมื่อลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัด

สำหรับการค้ำประกันเมื่อ ลูกหนี้ชั้นต้นมีการผิดนัดชำระหนี้ การที่จะทำหนังสือบอกกล่าวทวงถามยอดมีขั้นตอนหรือรายละเอียดที่ ชัดเจนเรื่องการค้ำประกัน

โดยอันดับแรกเราจะต้องทำหนังสือทวงถามไปยังลูกหนี้ชั้นต้นก่อน ว่าให้ชำระหนี้ตามกำหนด ถ้าหากไม่ชำระ เราจึงทำหนังสือทวงถามให้ผู้ค้ำประกันทราบว่าลูกหนี้ชั้นต้นไม่ยอมชำระหนี้ และให้ผู้ค้ำประกันนั้นทำการชำระหนี้แทนลูกหนี้ชั้นต้น โดยมีระยะเวลา ต้องทำหนังสือบอกกล่าวผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน

หากไม่ทำตามมันก็จะมีผลเสียหายมาคือผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้อุปกรณ์และดอกเบี้ยหลังจาก 60 วันนั้น แต่หนี้หลัก ที่ค้ำประกันอยู่ไม่ได้หลุดพ้นนะ ก็คือหลุดพ้นเพียงบางส่วนเท่านั้น

บางกรณี ลูกหนี้ชั้นต้นผิดสัญญาเช่าซื้อ และมีการโดนฟ้องศาลเรื่องรถยนต์ ผู้ค้ำประกัน(จำเลยที่ 2) ก็โดนฟ้องด้วย เนื่องจากเราไปค้ำประกันเขาไว้

กลับหน้า บทความคดี แพ่ง

คนค้ำ มีทางออกยังไงบ้าง

1. ถ้าสัญญาค้ำประกันทำไม่ถูกต้อง ผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบ ในหนี้อันเกิดจากสัญญาหลัก
2. ถ้าการบอกกล่าวผู้ค้ำไม่ถูกต้องผู้ค้ำหลุดพ้นในเรื่องหนี้อุปกรณ์ ส่วนหนี้หลักยังต้องรับผิดชอบอยู่
3. อย่างไรเสีย ถ้าผู้ค้ำต้องรับผิด เมื่อผู้ค้ำจ่าย ให้เจ้าหนี้หลักเรียบร้อยแล้วผู้ค้ำสามารถไปไล่เบี้ยเอากลับ ลูกหนี้หลักได้
4.ใช้สิทธิ์เกี่ยง โดยผู้ค้ำต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้ชั้นต้น มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ กับเจ้าหนี้ได้
5.เปลี่ยนคนค้ำ ในสัญญาค้ำประกัน (พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะคงไม่มีใครอยากมาค้ำให้แน่นอน)

“เรื่องราวต่างๆ มีรายละเอียดปลีกย่อย และความซับซ้อน บทความที่นำเสนอบนเว็บเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น เราไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่อง ทางที่ดีควรปรึกษากับทนายโดยตรง เป็นผลดีกับท่านมากกว่า”
ทนายความ


คนค้ำจ่ายหนี้ชั้นต้นไปแล้ว ??

เมื่อคนค้ำจ่ายหนี้ชั้นต้นให้กับเจ้าหนี้ไปแล้ว คนค้ำก็มีสิทธิ์มาฟ้องเอาคืนกับลูกหนี้ชั้นต้นต่อไปได้ โดยตั้งเป็นคดีใหม่ขึ้นมาอีกคดีหนึ่ง ในคดีใหม่นี้คนค้ำที่จ่ายหนี้ไปแล้วเป็นโจทก์ และลูกหนี้ชั้นต้นที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้ในคดีเดิม เป็นจำเลยในคดีใหม่

การให้ผู้ค้ำจะต้องรับผิดทางกฎหมาย เอกสารการจะต้องมีความสมบูรณ์ และมีเรื่องราวมากกว่าลูกหนี้ชั้นต้น จึงอาจมี ทางออกของคนค้ำประกัน หรือทางแก้ไขได้ดังที่กล่าวมา โทรสอบถาม หาทางออก ได้ที่นี่

ทนาย lawyersiam