คดียักยอกทรัพย์ ยอมความได้หรือไม่ มีทางออก ทางแก้ไขยังไง ปี65

ตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 12 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก มาตรา 352 – 356

มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนวรรค 2 เป็นการยักยอก ของที่ส่งให้โดยสำคัญผิดหรือของหาย

ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษเพียงกึ่งหนึ่ง

ไม่อยากติดคุก อ่านก่อน!!

 

กรอกข้อมูล ปรึกษากับ Lawyersiam

เมื่อส่งเรื่องแล้ว รบกวนแอดไลน์ id : @969vwmom  เพื่อที่จะรีบทำการให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหากันต่อไป

ยักยอก มีความหมายว่ายังไง

ในการยักยอกทรัพย์ ทรัพย์ที่จะยักยอก จะต้องอยู่ในการครอบครองของผู้กระทำผิดอยู่แล้ว ต่อมามีการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยมีเจตนาทุจริต ซึ่งเจตนาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในทางอาญาโดยเฉพาะเจตนาทุจริต ถ้าไม่มีเจตนาจะไม่เข้าความผิดฐานยักยอกทรัพย์เลย (ยักยอกทรัพย์ ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิดอยู่แล้ว ผู้กระทำความผิดแย่งกรรมสิทธิ์  แต่ถ้าซับไม่ได้อยู่ในครอบครอง ขอผู้กระทำความผิด ผู้กระทำความผิดแย่งทั้งการครอบครองและกรรมสิทธิ์ แบบนั้นจะเป็น ข้อหาลักทรัพย์ >>

ทรัพย์ที่ยักยอก เช่น เงิน โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือบางทีก็เป็นทรัพย์ของนายจ้าง แบบนี้เป็นต้น

ยกตัวอย่าง เช่นมีคนโอนเงิน ผิดบัญชีมายังบัญชีของเรา จากนั้นเราก็กดเงินจำนวนนี้เอาไปใช้จ่าย ทั้งที่รู้อยู่ว่าเงินที่โอนผิดมานี้ไม่ใช่เงินของเรา อย่างนี้มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

กรณีไม่ผ่อนชำระค่างวดก็อาจโดนฟ้องศาลเรื่องรถยนต์ >>ได้  หรือหากขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถไปคืน >>ก็อาจถูกฟ้องยักยอกได้

และ ผู้ค้ำประกัน >>จะโดนฟ้องด้วย

ยักยอกทรัพย์ ทางออก ทางแก้ไข ยอมความได้ไหม

คดียักยอกทรัพย์ไม่ใช่อาญาแผ่นดิน แต่เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัว นั่นคือเป็น ความผิดอาญาอันสามารถยอมความกันได้ (ดู คดีอาญายอมความได้ไหม) เราจึงมีแนวทาง แก้ไขปัญหา

  1. พูดคุยกับเจ้าหนี้ ว่าจะเอายังไงจะผ่อนชำระบรรเทาความเสียหายให้เขา กี่บาทกี่เดือน
  2. ถ้าเจ้าหนี้แจ้งความไว้แล้วกับตำรวจ เมื่อได้รับหมายเรียกก็ไปพบตำรวจเลย เอาเจ้าหนี้มาด้วยโทรคุยปรึกษากัน ความผิดที่ผิดไปแล้วก็ว่ากันไปแต่ตอนนี้เราต้องบรรเทาความเสียหายและต้องมีความจริงใจด้วย
  3. การบรรเทาความเสียหายให้เจ้าหนี้อาจจะเป็นการผ่อนชำระ เราจะต้อง คำนวณให้ดีว่ายอดเงินผ่อนชำระไหวกี่บาท จะได้ไม่ต้องผิดคำพูดกันอีก
  4. หากเราบรรเทาความเสียหายเป็นที่พอใจแก่เจ้าหนี้แล้วเจ้าหนี้ทำการ ถอนแจ้งความหรือถอนคำร้องทุกข์คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุดลง คดีเป็นอันระงับ เป็นผลดีกับทุกฝ่าย เจ้าหนี้ได้รับบรรเทาความเสียหายเราเองไม่ต้องเป็นคดีและไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายด้วย

ปรึกษาคดียักยอกทรัพย์ ฟรี

และนี่จึงเป็นทางออกสำหรับคดียักยอกทรัพย์ ผู้ที่หลงกระทำผิดทางอาญาฐานนี้ไปแล้ว พยายามพูดคุยกับเจ้าทุกข์ และบรรเทาความเสียหายจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าทุกข์หรือโจทก์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้น โจทก์สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ (แต่เป็นสิทธิ์ของโจทก์จะถอนหรือไม่ถอนก็ได้)

กรณีใดบ้างที่เป็นการยักยอกทรัพย์

เช่น เราไปเช่ารถมาขับรายเดือน เมื่อถึงกำหนดต้องคืนรถแล้ว มีเจตนาไม่ยอมคืน เบียดบังทรัพย์คือรถยนต์ของผู้ให้เช่ามาเป็นของเรา แต่ถ้าเราไม่มีเจตนาก็ไม่มีความผิดฐานยักยอก ดังนั้นการเจตนากระทำความผิดในความผิดฐานนี้ต้องมีเจตนา

การจะมาวินิจฉัยว่าเข้าข้อหายักยอกหรือไม่จึงต้องดูข้อเท็จจริงให้ชัดเจน แม้ตัวจำเลยกระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว ต่อมามีการตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับโจทก์  ซึ่งทั้งคู่สามารถตกลงยอมความกันได้

“เรื่องราวต่างๆ มีรายละเอียดปลีกย่อย และความซับซ้อน บทความที่นำเสนอบนเว็บเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น เราไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่อง ทางที่ดีควรปรึกษากับทนายโดยตรง เป็นผลดีกับท่านมากกว่า”
ทนายความ Lawyersiam

>>> ปรึกษาทนาย ที่นี่  https://sites.google.com/site/nitilawteam/law24hr

ทนาย nitilawteam

บทลงโทษข้อหายักยอกทรัพย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ตอนท้ายระบุเรื่องการลงโทษไว้ดังนี้ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นี่เป็นการเขียนบทลงโทษว่าง่ายตามกฎหมายระบุไว้แต่ในความเป็นจริงเมื่อท่านเป็นจำเลยในคดีอาญาและศาลจะพิพากษาลงโทษท่านจำคุกกี่ปี นั่นเป็นดุลพินิจของศาล

ข้อหานี้เป็นคดีอาญา ต้องประกันตัว ซื้อกรมธรรพ์อิสรภาพ

อายุความคดียักยอกทรัพย์

เนื่องจากเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ จึงมีอายุความ 3 เดือน นับจากวันที่รู้เรื่องหรือรู้ตัวผู้กระทำความผิด

หนทางแก้ไข ความผิดยักยอกทรัพย์

1.ในชั้นตำรวจ เมื่อได้รับหมายเรียก ให้ไปตามหมายเรียกเพื่อพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รับทราบข้อกล่าวหา

2.ถ้าคุยกับผู้เสียหายได้ เพื่อจะตกลงบรรเทาความเสียหาย ให้คุยและทำตามนั้น และรับปากต้องให้สัญญาเป็นสัญญา

3.คดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ดังที่กล่าวมาแล้วเบื้องต้น

4.คุยกับผู้เสียหายให้ชัดเจนว่าถ้าเรามันทำความเสียหายจนเป็นที่พอใจแล้ว ขอให้มีการ ถอนฟ้องหรือถอนคำร้องทุกข์

5.คุยกับผู้เสียหายดีๆ รับปากแล้วต้องรับปากให้ชัดเจน อะไรทำได้ไม่ได้ อย่าทำให้เขาเสียน้ำใจอีก

6.การถอนฟ้องถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิ์ของโจทก์หรือผู้เสียหาย เขาจะถอนหรือไม่ถอนก็ได้ ดังนั้นเมื่อทำความผิดแล้ว ต้องสำนึกผิดและทำตัวให้น่ารัก มันจะเป็นผลดีต่อท่านเอง

7.ถ้าได้รับหมายเรียก แล้วไม่ไปตามหมายเรียก 2 ครั้ง ตำรวจจะทำการออกหมายจับ

8.เมื่อถูกจับตามหมายจับ อาจจะต้องมีการทำการประกันตัวเกิดขึ้น อันเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของท่านโดยไม่จำเป็น

9.กรณีถูกฟ้องเป็นคดีต่อศาลแล้ว ไปคุยกันในชั้นศาลก็ดีจะได้บันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ในเรื่องการบรรเทาความเสียหายให้กับโจทก์ต่างๆ

กลับหน้า บทความคดี อาญา

เน้นย้ำ ความจริงใจในการแก้ปัญหาด้วยความสำนึกผิด เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด อย่าสักแต่ว่ารับปาก ให้ตัวเองหลุดพ้นไปวันๆ รับปากแล้วไม่ทำตามที่ ตกลงหรือสัญญากันไว้กับโจทก์ เป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง


อ่านบทความตามหมวดหมู่ :  แพ่งอาญาทั่วไปศาลสัญญา