คดีลักทรัพย์ ยอมความได้ไหม อายุความกี่ปี

คดีอาญา ลักทรัพย์ยอมความได้ไหม และ มีอายุความกี่ปี วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องความผิดอาญาในข้อหาลักทรัพย์

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท

ฟัง ลักทรัพย์ ยอมความดีไหม จะได้ไม่พลาดโอกาส ???

โปรดอ่าน ก่อนจะคิดยอมความ คดีลักทรัพย์ !!

องค์ประกอบความผิดข้อหาลักทรัพย์

องค์ประกอบภายนอก
– ผู้ใด คือผู้ที่มีสภาพความเป็นบุคคล
– เอาไป =>การเอาไปความผิดสำเร็จ คือ
1.แย่งการครอบครอง
2.พาทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ไป (ถ้าทรัพย์ยังไม่เคลื่อนที่ เป็นแค่พยายามลักทรัพย์)
3.เอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์

– ทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
องค์ประกอบภายใน ต้องมีเจตนาพิเศษ เอาไปโดยทุจริต
ซึ่งความหมายของ “โดยทุจริต’ หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

ดังนั้นการจะเข้าองค์ประกอบความผิดข้อหาลักทรัพย์จึงต้องมีเจตนาทุจริต คือมีเจตนาแย่งทั้งการครอบครองและเรื่องกรรมสิทธิ์ เพื่อเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน โดยที่ตนไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย

ลักทรัพย์เหตุฉกรรจ์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน => ในทางกฎหมาย นับแต่เวลาพระอาทิตย์ตกดิน จนถึงพระอาทิตย์ขึ้น ดูจากดวงอาทิตย์มิใช่ดูจากแสงอาทิตย์ (ไม่ใช่เวลาตามนาฬิกาแบบที่เราเข้าใจ)

(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะอื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัยโอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตรายใด ๆ

(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ =>การทำลายสิ่งกีดกัน หรือผ่านเข้าไปในทางที่เค้าไม่ได้ให้ผ่าน เพื่อทำการลักทรัพย์

(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้า หรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ => เช่นทางหน้าต่าง ช่องลม ช่องฝา ลูกกรง

(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วยประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้

(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน (ดูความหมายของเจ้าพนักงานด้วย)

(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป =>แค่มีอาวุธ ถึงไม่ใช้อาวุธในการลักทรัพย์ก็เป็นความผิด
(8) ในเคหสถาน สถานที่ราชการ

(9) ในสถานที่บูชาสาธารณะ สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ สาธารณสถานสำหรับขนถ่ายสินค้า หรือในยวดยานสาธารณะ => สาธารณะสถาน หมายความว่า สถานที่ใดใด ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ไม่จำกัดว่าเป็นของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง

(10) ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง [อาจจะเป็นหรือไม่เป็นของนายจ้างก็ได้ แต่อยู่ในความครอบครองของนายจ้าง]

(12) ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม บรรดาที่เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์ สัตว์หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการกสิกรรมนั้น

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท

“เรื่องราวต่างๆ มีรายละเอียดปลีกย่อย และความซับซ้อน บทความที่นำเสนอบนเว็บเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น เราไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่อง ทางที่ดีควรปรึกษากับทนายโดยตรง เป็นผลดีกับท่านมากกว่า”
ทนายความ

คดีลักทรัพย์ ยอมความได้ไหม

เนื่องจากข้อหาลักทรัพย์เป็นอาญาแผ่นดิน อันไม่อาจยอมความได้

ดังนั้นเมื่อความผิดฐานลักทรัพย์กระทำความผิดสำเร็จลงแล้วการดำเนินคดีจึงต้องดำเนินคดีต่อไปให้ถึงจุดสูงสุดจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

การที่เรานำทรัพย์ที่ลักมาไปคืนให้กับเจ้าทุกข์ มันเป็นเพียงแค่การบรรเทาความเสียหายเท่านั้น และอาจทำให้ศาลรอการลงโทษได้ (ไม่มีใครรับประกันนะเรื่องนี้เพราะเราไม่ใช่ผู้ พิพากษา)  ข้อหาเจ้าทุกข์ยอมความ ไปก็ไม่มีประโยชน์

หากท่านได้รับหมายเรียกเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหา ในข้อหาลักทรัพย์ ถ้าไม่ไปตามหมายเรียกจะเกิดอะไรขึ้น ?

อายุความคดีอาญาลักทรัพย์

เนื่องจากความผิดในข้อหาลักทรัพย์เป็นความผิดอันไม่อาจยอมความได้จึงไม่มีเรื่องการแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน เรื่องอายุความ

คดีลักทรัพย์นั้น ทั้งกรณีลักทรัพย์ทั่วไป ประมวลอาญา มาตรา 334 และลักทรัพย์นายจ้าง ประมวลอาญามาตรา 335 มีระวางโทษจำคุกเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปี

กฎหมายจึงกำหนดให้มีอายุความ 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด (รู้ตัวผู้กระทำความผิด) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)

ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุท่านจึงควรที่จะรีบดำเนินการเพราะว่าหากชักช้า พยานหลักฐานทั้งพยานบุคคลต่างๆอาจจะหลงลืม และรวบรวมพิสูจน์พยานหลักฐานได้ยากยิ่งขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป

ดังนั้นท่านควรรีบแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ หรือ ให้ทนายฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อดำเนินการให้เร็วที่สุด

หวังว่า คงได้คำตอบว่าคดีลักทรัพย์เป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความกับเจ้าทุกข์ได้ และมีอายุความ 10 ปี โดยนับจากอัตราโทษจำคุก ซึ่งไม่เหมือนกับ ยักยอก ( สนใจ clickอ่าน  ข้อหายักยอกทรัพย์ >>)

กลับหน้า บทความคดี อาญา


อ่านบทความตามหมวดหมู่ :  แพ่งอาญาทั่วไปศาลสัญญา


Similar Posts