1. ศาลชั้นต้น
2. ศาลอุทธรณ์
3. ศาลฎีกา
โดยหน้าที่ของศาลเป็นดังนี้คือ
1. ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นมีหน้าที่รับฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นศาลที่เป็นจุดเริ่มต้นของการฟ้องคดี ศาลชั้นต้นนี้ยังแบ่งออก เป็นอีกได้ หลายแบบ ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและ พื้นที่ต่างจังหวัด มีทั้งศาลแขวงและศาลจังหวัด
ในการฟ้องคดี ในคดีแพ่ง โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องที่ศาลชั้นต้นนี้ในเขตอำนาจศาล หรือในคดีอาญาโจทก์จะต้องทำการฟ้องคดี ไม่ว่าจะเป็นประชาชนฟ้องคดีหรืออัยการฟ้องคดี ก็จะต้องเริ่มต้นที่ศาลชั้นต้นนี้ โดยยื่นฟ้องในเขตอำนาจศาลที่รับผิดชอบ
2. ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ มีหน้าที่รับคดีที่ศาลชั้นต้น โจทก์หรือจำเลยมีการอุทธรณ์มา ซึ่งจะมาที่ศาลอุทธรณ์นี้ ศาลอุทธรณ์จะแบ่งเป็นภาค หนึ่งศาลอุทธรณ์จะรับผิดชอบหลายๆพื้นที่ในศาลชั้นต้น
3. ศาลฎีกา
ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดแล้วของระบบศาลยุติธรรมประเทศไทย เมื่อศาลชั้นต้นตัดสิน คู่ความมีการอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา คดีสุดท้ายจะมาอยู่ที่ศาลฎีกา คำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สุด ถือว่าสิ้นสุดแล้ว ในระบบคดีศาลยุติธรรมประเทศไทย
สำหรับคดีแต่ละประเภทจะเริ่มต้นฟ้องที่ศาลชั้นต้นที่ใดบ้างก็ต้องมาวิเคราะห์ตรวจสอบ ในคดีแพ่งและคดีอาญา
ในคดีแพ่งจะฟ้องคดีในเขตศาลที่มูลคดีเกิดหรือตามที่ภูมิลำเนาของจำเลย โดยให้เลือกเอาที่ใดที่หนึ่ง แต่สำหรับคดีบางประเภทเช่นคดีผู้บริโภคจะต้องฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อความสะดวกของจำเลย ในการเดินทางไปศาล
กรอกข้อมูล ปรึกษากับ Lawyersiam