เราให้บริการปรึกษาคดียักยอกทรัพย์ฟรี ในเบื้องต้น ซึ่งความผิดยักยอกทรัพย์นี้เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก (มาตรา 352 – 356)
มาตรา 352 {ยักยอกทรัพย์} ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สารบัญ ปรึกษายักยอกทรัพย์
องค์ประกอบความผิด | ตัวอย่างที่เป็นยักยอก | โดนยักยอก ทำไงดี? | คุยกับเจ้าหนี้ยักยอกเลย?
องค์ประกอบความผิด วรรค1
1.ครอบครองทรัพย์อยู่แล้ว
2.แย่งกรรมสิทธิ์(เบียดบังเอาทรัพย์)
3.โดยทุจริต(เจตนา สำคัญมาก)
ว.2 {ยักยอกของที่ส่งให้โดยสำคัญผิด/ของหาย} ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง
comment : ของหาย แล้วเจ้าของตามทันที ไม่ใช่ของหายนะ (ยังไม่ขาดการครอบครอง)
- ขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน โดนฟ้องยักยอกทรัพย์
- คดียักยอกทรัพย์ ยอมความได้หรือไม่ มีทางออก ทางแก้ไขยังไง ปี65
- ไม่อยากติดคุก คดียักยอก ต้องฟัง
- ยักยอกทรัพย์ เป็นแพ่งหรืออาญา
- ประสบการณ์ คดียักยอกทรัพย์
มาตรา 353 {ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สิน} ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 354 {การระวางโทษสูง} ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 352 หรือมาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 355 {ยักยอกสังหาริมทรัพย์มีค่าที่ซ่อน/ฝังไว้} ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 356 {ความผิดหมวดนี้ยอมความได้} ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
.
.
.
.
ยกตัวอย่างที่เป็นยักยอกทรัพย์
เช่น ผ่อนรถไม่ไหวและนำรถไปจำนำ , หรือบางคน คนอื่นโอนเงินมา ผิดแล้วเราไม่ยอมโอนคืนให้ , บางคนเจ้านายให้ไปเก็บเงินลูกค้า จากนั้นก็นำเงินของลูกค้าไปเป็นของตน (เนื่องจากมีอำนาจครอบครองอยู่แล้วจึงไม่เป็นลักทรัพย์)
.
.
.
.
ปรึกษาโดนคดียักยอกทรัพย์แล้วทำยังไงดี
เมื่อท่านถูกแจ้งข้อหาในข้อหายักยอกทรัพย์และมาทำการปรึกษาคดีกับเรา โดยปกติเราก็จะให้คำปรึกษาว่าคดียักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญายอมความได้ ตามมาตรา 356 เราอยากให้คุยกับผู้เสียหายและบรรเทาความเสียหาย เราคิดว่าการให้คำปรึกษาแบบนี้จะทำให้ทุกฝ่าย Happy เพราะผู้เสียหายก็ได้ของคืน
แต่บางครั้งการให้คำปรึกษาแบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเมื่อเราให้คำปรึกษาว่าให้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยทำการคืนของให้กับผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายอาจจะต้องการเอาเรื่องต่อ ไม่ถอนแจ้งความหรือไม่ถอนคำร้องทุกข์
.
.
.
.
ถูกฟ้องยักยอกทรัพย์ คุยกับเจ้าหนี้
เมื่อถูกดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ เรามีคำปรึกษาคดีในเรื่องยักยอกทรัพย์ ก็คือพยายามคุยกับผู้เสียหาย และถ้าจะให้ป้องกันอย่างเด็ดขาดก็คืออย่าให้เกิดความโลภหรือก่อนที่จะยักยอกทรัพย์หรือเอาของคนอื่นมาเป็นของเราให้คิดถึงผลเสียที่ตามมา
ปรึกษาคดียักยอกทรัพย์ฟรี ในเบื้องต้นไม่มีค่าใช้จ่าย แต่อย่าลืมว่ามันเป็นคดีอาญามีโทษจำคุก อาจจะมีความยุ่งยากเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประกันตัว ต้องตรวจสอบให้ดี เข้ามาปรึกษาฟรีกันก่อน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องคดียักยอกทรัพย์ ฟรีเบื้องต้น
กรอกข้อมูล ปรึกษากับ Lawyersiam