เมื่อลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีหนี้ต่อกัน ไม่ว่าหนี้นั้นจะเกิดจากอะไร เช่น หนี้จากเงินกู้ยืม หรือหนี้จากการจ้างทำของแล้วจ่ายเงินก็ไม่ครบ หรือไปทำของเขาเสียหาย

เมื่อมีการตกลงกันลูกหนี้ มาทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ เพื่อยอมรับว่าลูกหนี้เป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้ซึ่งหนี้เกิดจากอะไรก็อธิบายไป

.
.
.

ทำไมจึงต้องมีการทำหนังสือรับสภาพหนี้

หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือนิติกรรมฝ่ายเดียว เป็นเรื่องที่ลูกหนี้มายอมรับต่อเจ้าหนี้ว่าเป็นหนี้ และก็อธิบายว่าหนี้เกิดจากอะไรดังที่กล่าวไปแล้ว และมีข้อตกลงในการชำระหนี้ ว่าลูกหนี้ยินยอมชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เดือนละกี่บาทกี่สตางค์ ภายในกี่เดือน หรือกี่ปี จะเสร็จสิ้น
.
.
.

อายุความการรับสภาพหนี้

หนังสือรับสภาพหนี้จะต้องฟ้องร้องดำเนินคดีภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด ตามป.พ.พ.มาตรา 193/35

เกินจากนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ ซึ่งยังสามารถฟ้องคดีแพ่งต่อศาลได้แต่ลูกหนี้หรือจำเลยอาจยกเหตุข้อต่อสู้เรื่องอายุความ มาต่อสู้กับโจทก์ได้ซึ่งทำให้ศาลต้องยกฟ้อง

“เรื่องราวต่างๆ มีรายละเอียดปลีกย่อย และความซับซ้อน บทความที่นำเสนอบนเว็บเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น เราไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่อง ทางที่ดีควรปรึกษากับทนายโดยตรง เป็นผลดีกับท่านมากกว่า”
ทนายความ Lawyersiam

.
.
.

รับสภาพหนี้แล้วดียังไง

ทำให้มีความชัดเจน ว่าหนี้นั้นเกิดจากอะไร ซึ่งบางครั้งตอนเริ่มต้นอาจจะยังมั่วหรือไม่ชัดเจนว่ายอดเงินกี่บาทกี่สตางค์ เมื่อมีการทำหนังสือรับสภาพหนี้จึงสรุปยอดเงินหรือยอดหนี้ที่ชัดเจน ทำให้ดำเนินการต่อไปได้ง่าย
.
.
.

การรับสภาพหนี้ แตกต่างกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ยังไง?

1.หนังสือรับสภาพหนี้เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว แต่สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นข้อตกลงระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
2. การรับสภาพหนี้ไม่มีข้อตกลงระงับข้อพิพาท และไม่สละสิทธิ์ในการดำเนินคดี

3. การรับสภาพหนี้ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมระงับ และไม่ก่อให้เกิดมูลหนี้ใหม่
4. การรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง


อ่านบทความตามหมวดหมู่ :  แพ่งอาญาทั่วไปศาลสัญญา

กรอกข้อมูล ปรึกษากับ Lawyersiam

เมื่อส่งเรื่องแล้ว รบกวนแอดไลน์ id : @969vwmom  เพื่อที่จะรีบทำการให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหากันต่อไป

Similar Posts