การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของโอนลอย

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของโอนลอย คืออะไร ตามโดยปกติการซื้อรถยนต์จะสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบรถยนต์ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ เรียบร้อยแล้ว
แต่สำหรับในเรื่องทางทะเบียนจะต้องมีการไปจดทะเบียน กับกรมขนส่ง แต่บางกรณี เมื่อมีการซื้อขายคือส่งมอบตัวรถยนต์เสร็จสิ้นแล้ว ทางผู้ขายอาจทำหนังสือ ไว้ให้กับทางผู้ซื้อ เป็นหนังสือมอบอำนาจและใบโอนต่างๆโดยที่ตัวผู้ขายไม่ต้องไปทำการโอนรถยนต์ให้ต่อผู้ซื้อที่กรมขนส่ง

การโอนลอยรถยนต์จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง

1. หากผู้ซื้อนำรถยนต์นั้นไปกระทำการผิดกฎหมาย เราซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้รู้เรื่องแล้วไม่ได้ครอบครองรถนั้นอีกต่อไปก็อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วย
2. ถ้าผู้ซื้อขับรถผิดเช่นถูกปรับ ขับผิดกฎจราจร ขับรถด้วยความเร็วสูงต่างๆ จริงอยู่แม้ผู้ขายไม่เป็นผู้กระทำความผิด แต่ก็จะสร้างความยุ่งยากมาสู่เรา
3. หากผู้ซื้อไม่ยอมไปทำการโอนรถยนต์ให้เรียบร้อย และเวลาผ่านไปยาวนาน เราไม่รู้ว่ารถยนต์นี้จะโอนไป เป็นชื่อผู้ใด เพราะบางครั้งการโอนลอยโอนไว้มีแต่รายการโอนออกของเราแต่ผู้รับโอนเรายังอาจจะไม่ทราบ
4. กรณีรถยนต์ถูกกระทำความผิดทางอาญา เช่นนำไปขนยาเสพติด อย่างน้อยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเรียกเราไป สอบสวนแน่นอนเพราะรถยนต์นั้นเป็นชื่อของเรา แต่เรากลับไม่รู้ว่าผู้ใดเป็นผู้ใช้รถยนต์ของเรา
5. และอาจมีปัญหาอื่นตามมาอีกมากมายที่เราอาจคาดคิดไม่ถึง

การโอนลอยจะมีข้อดีอยู่บ้างก็คือความสะดวกสบาย เช่น การซื้อขายรถแล้ว เมื่อทำการตกลงซื้อขายก็เซ็นต์เอกสารโอนลอยกันให้เรียบร้อย ผู้ขายไม่ต้องไปที่ขนส่ง เพื่อทำการ โอนรถยนต์ทางทะเบียนให้ถูกต้อง

ก่อนทำการโอนลอยรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ก็แล้วแต่ ต้องคิดให้ดีและรอบคอบ

บริการของ Lawyersiam :

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของโอนลอย ปัจจุบัน

จากประสบการณ์การซื้อขายรถยนต์ที่เห็นมาส่วนมากก็มักจะใช้การโอนลอย เช่น ผู้ค้าขายรถมือสองไปซื้อรถยนต์มือสองมาจากผู้ขาย ก็จะมีใบโอนลอย ให้เราเซ็นจากนั้นเมื่อผู้ค้ารถยนต์มือสองขายรถยนต์ได้จึงนำรถยนต์นั้นไปโอนให้กับผู้ซื้ออีกครั้ง โทรหากไม่โอนลอยก็จะทำให้เสียค่าธรรมเนียมเพราะต้องเป็นการโอน 2 ครั้ง โอนจากผู้ขายรถมายัง ผู้ค้ารถมือสอง และการโอนรถยนต์ครั้งที่ 2 คือโอนจากผู้ค้ารถมือสองไปยังผู้ซื้อรถยนต์มือสอง

>>> ขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน มีผลเสียยังไงบ้าง ?

“เรื่องราวต่างๆ มีรายละเอียดปลีกย่อย และความซับซ้อน บทความที่นำเสนอบนเว็บเป็นเพียงความรู้เบื้องต้น เราไม่สามารถบอกได้ทุกเรื่อง ทางที่ดีควรปรึกษากับทนายโดยตรง เป็นผลดีกับท่านมากกว่า”
ทนายความ Lawyersiam


อ่านบทความตามหมวดหมู่ :  แพ่งอาญาทั่วไปศาลสัญญา

Similar Posts